Electricity Tips
"การคิดค่าไฟฟ้าด้วยตนเอง"
จากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบัน ส่งผลทำให้หลายบ้านต้องสำรวจและควบคุมค่าใช้จ่าย ในการครองชีพของตัวเองไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการกินอยู่ตลอดจนค่าใช้จ่ายในด้านสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าน้ำมันรถ เพื่อให้เพียงพอกับเงินรายได้ที่ตนได้รับ สำหรับค่าใช้จ่ายที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ค่าไฟฟ้านั้น เรามีวิธีตรวจสอบค่าใช้จ่ายว่า เราใช้ไฟฟ้าไปกี่หน่วย จะต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็นจำนวนเงินเท่าไร อีกทั้งยังสามารถหาแนวทางการประหยัดไฟฟ้าได้อีกด้วย
ก่อนที่เราจะทราบอัตราค่าไฟฟ้านั้น เราควรจะทราบว่า เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ใช้ไฟฟ้าหรือกินไฟเท่าไหร่เสียก่อน โดยสังเกตคู่มือการใช้งานหรือแถบป้ายที่ติดอยู่กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เขียนว่า กำลังไฟฟ้า มีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีจำนวนวัตต์มาก ก็กินไฟมากตามไปด้วย ดังนั้นท่านสามารถคำนวณดูจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในบ้านท่านว่ามีเครื่องใช้ไฟฟ้ากี่ชนิดแต่ละชนิดกินไฟกี่วัตต์ และเปิดใช้งานประมาณเดือนละกี่ชั่วโมง หลังจากนั้นท่านก็นำมาคิดคำนวณ ท่านจะทราบว่าในแแต่ละเดือนท่านใช้ไฟฟ้าไปประมาณกี่หน่วยเพื่อเป็นแนวทางในการประหยัดค่าไฟฟ้าได้
สำหรับการใช้ไฟฟ้า 1 หน่วยหรือ 1 ยูนิตคือ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาด 1,000 วัตต์ที่ใช้งานใน 1 ชั่วโมง หรือใช้สูตรการคำนวณดังนี้
กำลังไฟฟ้า (วัตต์)ชนิดนั้นๆ x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานใน 1 วัน = จำนวนหน่วยหรือยูนิต
ตัวอย่าง บ้านอยู่อาศัยทั่วไป สมมุติว่าบ้านของท่านมีเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 6 อย่างดังต่อไปนี้ สังเกตจำนวนวัตต์เพื่อคำนวณ การใช้ได้จากป้ายที่ติดหรือคู่มือของเครื่องใช้ไฟฟ้า
- มีหลอดไฟฟ้าขนาด 40 วัตต์ (รวมบัลลาสต์อีก 10 วัตต์ เป็น 50 วัตต์) จำนวน 10 ดวง เปิดใช้ประมาณวันละ 6 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 50x10÷1,000x6 = 3 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x3) = 90 หน่วย
- หม้อหุงข้าว ขนาด 600 วัตต์ จำนวน 1 ใบ เปิดใช้ประมาณวันละ 30 นาที จะใช้ไฟฟ้าวันละ 600x1÷1000x0.5 = 0.3 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.3) = 9 หน่วย
- ตู้เย็น ขนาด 125 วัตต์ จำนวน 1 ตู้ เปิดตลอด 24 ชั่วโมง สมมุติคอมเพรสเซอร์ทำงาน 8 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 125x1÷1000x8 = 1 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x1) = 30 หน่วย
- เครื่องปรับอากาศ ขนาด 2,000 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 12 ชั่วโมง สมมุติคอมเพรสเซอร์ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 2,000x1÷1000x8 = 16 หน่วย หรือประมาณดือนละ (30x16) = 480 หน่วย
- เครื่องปรับอากาศ ขนาด 1,300 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 8 ชั่วโมง สมมุติคอมเรสเซอร์ทำงานวันละ 5 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 1,300x1÷1,000x5 = 6.5 หน่วย หรือประมาณวันละ (30x6.5) = 195 หน่วย
- เตารีดไฟฟ้า ขนาด 800 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 1 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 800x1÷1000x1 = 0.8 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.8) = 24 หน่วย
- ทีวีสีขนาด 100 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 3 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 100x1 ÷x3 = 0.3 หรือประมาณเดือนละ (30x0.3) = 9 หน่วย
- เครื่องทำน้ำอุ่น ขนาด 4,500 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 1 ชั่วโมงจะใช้ไฟฟ้าวันละ 4,500x1÷1000x1 = 4.5 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x4.5) = 135 หน่วย
- เตาไมโครเวฟ ขนาด 1,200 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 30 นาที จะใช้งานวันละ 1,200x1 ÷1000x0.5 = 0.6 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.6) = 18 หน่วย
ดังนั้นในแต่ละเดือนบ้านของท่านใช้ไฟฟ้าไปทั้งหมดประมาณ 990 หน่วย จากนั้นท่านก็สามารถคำนวณค่าไฟฟ้าของท่านได้ตามอัตราค่าไฟฟ้าดังนี้
อัตราค่าไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ซึ่งมีผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
1. ประเภทมีการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือนมีอัตรา ดังต่อไปนี้ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ค่าไฟฟ้าต่ำสุด |
คือ |
ไม่มีการใช้ไฟฟ้า |
4.67 |
บาท |
5 หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) แรก |
(หน่วยที่ 1-5) |
เป็นเงิน |
4.96 |
บาท |
10 หน่วยต่อไป |
(หน่วยที่ 6-15) |
หน่วยละ |
0.7124 |
บาท |
10 หน่วยต่อไป |
(หน่วยที่ 16-25) |
หน่วยละ |
0.8993 |
บาท |
10 หน่วยต่อไป |
(หน่วยที่ 26-35) |
หน่วยละ |
1.1516 |
บาท |
65 หน่วยต่อไป |
(หน่วยที่ 36-100) |
หน่วยละ |
1.5348 |
บาท |
50 หน่วยต่อไป |
(หน่วยที่ 101-150) |
หน่วยละ |
1.6282 |
บาท |
250 หน่วยต่อไป |
(หน่วยที่ 151-400) |
หน่วยละ |
2.1329 |
บาท |
เกินกว่า 400 หน่วย |
(หน่วยที่ 401เป็นต้นไป) |
หน่วยละ |
2.4226 |
บาท |
2. ประเภทปริมาณการใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือนมีอัตราดังต่อไปนี้(ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ค่าไฟฟ้าต่ำสุด คือ |
ไม่มีการใช้ไฟฟ้า |
เดือนละ |
83.18 |
บาท |
35 หน่วย(กิโลวัตต์ชั่วโมง) |
(หน่วยที่ 1-35) |
เป็นเงิน |
85.21 |
บาท |
115 หน่วยต่อไป |
(หน่วยที่ 36-150) |
หน่วยละ |
1.1236 |
บาท |
250 หน่วยต่อไป |
(หน่วยที่ 151-400) |
หน่วยละ |
2.1329 |
บาท |
เกินกว่า 400 หน่วย |
(หน่วยที่401เป็นต้นไป) |
หน่วยละ |
2.4226 |
บาท |
ปัจจุบัน การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ยังไม่มีการปรับโครงสร้างค่ากระแสไฟฟ้าแต่อย่างใด ซึ่งอัตราค่าไฟฟ้าที่ใช้ในปัจจุบันได้เริ่มใช้มาตั้งแต่เดือนมกราคม 2540 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตามการคิดค่าไฟฟ้านั้น มีปัจจัยอย่างหนึ่งที่จะต้องมาคำนวณด้วย นั้นก็คือค่าการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือที่เราเรียกว่าค่า Ft (Energy Adjustment charge) หลายท่านคงสงสัยว่าค่า Ft คืออะไร ความหมายของค่าดังกล่าวคือเป็นตัวประกอบ ที่ใช้ในการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติมีค่าเป็นสตางค์ต่อหน่วยใช้สำหรับปรับค่าไฟฟ้าที่ขึ้นลง ในแต่ละเดือนโดยนำไปคูณ กับหน่วยการใช้ประจำเดือน ค่า Ft ดังกล่าวอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ทั้งนี้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถตรวจสอบได้จากใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีค่าไฟฟ้าประจำเดือนนั้นๆ
ตัวอย่างวิธีการคิดค่าไฟฟ้า
สมมุติว่าเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.2 ใช้ไฟฟ้าไป 990 หน่วย
35 หน่วยแรก |
|
85.21 |
บาท |
115 หน่วยต่อไป |
(115x1.1236 บาท) |
129.21 |
บาท |
250 หน่วยต่อไป |
(250x2.1329 บาท) |
533.22 |
บาท |
ส่วนที่เกินกว่า 400 หน่วย |
(990-400 = 590 x 2.4226 บาท) |
1,429.33 |
บาท |
รวมเป็นเงิน |
|
2,176.97 |
บาท |
คำนวณค่า Ft โดยดูได้จากใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน หรือสอบถามจากการไฟฟ้านครหลวง
ตัวอย่าง ค่า Ft มิถุนายน 2541 หน่วยละ 5.45 สตางค์
990 หน่วย x 0.05045 บาท |
|
499.46 |
บาท |
รวมเงิน |
2,176.97+499.46 = |
2,676.43 |
บาท |
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% |
= 2,676.43 x 7/ 100 = |
187.35 |
บาท |
รวมเป็นเงิน 2,863.78 บาท |
ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ |
2,863.75 |
บาท |
หมายเหตุ ในกรณีที่คำนวณค่าไฟฟ้าแล้วเศษสตางค์ที่คำนวณได้มีค่าต่ำกว่า 12.50 สตางค์ กฟน. จะทำการปัดเศษลง ให้เต็ม จำนวน ทุกๆ 25 สตางค์ และถ้าเศษสตางค์ มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 12.50 สตางค์ กฟน.จะปัดเศษขึ้นให้เต็มจำนวนทุก ๆ 25 สตางค์
สำหรับตัวอย่างการคิดค่าไฟฟ้าที่ให้มาข้างต้นนี้ท่านสามารถนำไปคำนวณการใช้ไฟฟ้าในบ้านของท่านได้ เพื่อเป็นแนวทางในการประหยัดค่าไฟฟ้า อย่างไรก็ตามการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพนั้น ท่านควรรู้จักเลือกเครื่องไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งาน และใช้เท่าที่จำเป็นซึ่งจะช่วยให้ท่าน สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้เป็นอย่างมาก
|